- หน้าหลัก
- เกี่ยวกับ
- กฏหมาย
- หน่วยงานภายใน
- งานอัตรากำลังและสวัสดิการ
- การย้ายหน่วยงานของบุคลากรในสังกัด มรพส.
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- แบบบรรยายลักษณะงาน (Job Description)
- การต่ออายุเวลาราชการ
- การประเมินเพื่อเลื่อนระยะเวลาการจ้าง (พนักงานมหาวิทยาลัย)
- การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การปรับวุฒิ-การเพิ่มวุฒิ
- การรับโอนย้ายหน่วยงาน
- การลาออก
- การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน
- บำเหน็จ-บำนาญ-บำเหน็จตกทอด
- มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
- รวมกฏหมาย
- สินเชื่อสวัสดิการ
- งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- งานวินัยและนิติการ
- งานอัตรากำลังและสวัสดิการ
- เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- แบบฟอร์มดาวน์โหลด
- คู่มือปฏิบัติงาน
- มติที่ประชุม ก.บ.ม.
- รายงานการดำเนินโครงการ
- หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- มหาวิทยาลัยในกำกับ
- การให้บริการรับสมัครงานผ่านระบบออนไลน์
- แบบรายงานการเปิดเผยผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาตามแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา หลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค
- กองทุน มรพส.
- เว็บไซต์เดิม
ประวัติกองบริหารงานบุคคล
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นมา ซึ่งในขณะนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นมหาวิทยาลัยตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2548 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2548 มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับ คณะ สำนัก ศูนย์ สถาบัน รวม 6 คณะ 3 สำนัก 1 สถาบัน ได้แก่
-
-
-
- สำนักงานอธิการบดี
- คณะครุศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาการจัดการ
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
- คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น (หมายเหตุ : จัดตั้งโดยมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม)
- คณะพยาบาลศาสตร์ (หมายเหตุ : จัดตั้งโดยมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม)
- โครงการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีดิจิทัล (หมายเหตุ : จัดตั้งโดยมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม)
-
-
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2549 ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ให้แบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดี ดังนี้
-
-
-
- กองกลาง
- กองนโยบายและแผน
- กองบริการการศึกษา
- กองบริหารงานบุคคล
- กองพัฒนานักศึกษา
- โครงการจัดตั้งกองคลัง (หมายเหตุ : จัดตั้งโดยมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม)
-
-
ในปี พ.ศ.2558 ได้มีประกาศแบ่งส่วนราชการในกองบริหารงานบุคคลเป็น 6 หน่วยงาน ได้แก่
-
-
-
- งานบริหารทั่วไป
- งานทะเบียนประวัติและสวัสดิการ
- งานกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
- งานอัตรากำลังและค่าตอบแทน
- งานพัฒนาและฝึกอบรม
- งานวินัยและนิติการ
-
-
ในปี พ.ศ. 2562 ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2562 ได้แบ่งส่วนราชการภายในกองเป็นงาน จำนวน 5 งาน ได้แก่
-
-
-
- งานบริหารทั่วไป
- งานอัตรากำลังและค่าตอบแทน
- งานกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้ง
- งานพัฒนาบุคลากร
- งานวินัยและนิติการ
-
-
ในปี พ.ศ. 2564 ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2564 ได้แบ่งส่วนราชการภายในกองเป็นงาน จำนวน 4 งาน ได้แก่
-
-
-
- งานบริหารทั่วไป
- งานอัตรากำลังและค่าตอบแทน
- งานกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้ง
- งานวินัยและนิติการ
-
-
ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2566 ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2566 ได้แบ่งส่วนราชการภายในกองเป็นงาน จำนวน 3 งาน ได้แก่
-
-
-
- งานอัตรากำลังและสวัสดิการ
- งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- งานวินัยและนิติการ
-
-
ปณิธาณ
กองบริหารงานบุคคล บริหารเด่น เน้นบริการ ประสานภารกิจ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของมหาวิทยาลัย
ปรัชญา
มนุษยสัมพันธ์เด่น เน้นบริการและคุณภาพ
วิสัยทัศน์
กองบริหารงานบุคคล เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
พันธกิจ
-
-
- สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
- พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ สมรรถนะ ทักษะ
- รักษาบุคลากรในมหาวิทยาลัย โดยจัดหาสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ให้กับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเพื่อก่อให้เกิดขวัญ กำลังใจต่อการปฏิบัติงานและเกิดความมั่นคง ก้าวหน้าต่อการปฏิบัติงาน
- ใช้ประโยชน์จากบุคลากรในมหาวิทยาลัยให้สามารถนำความรู้ความสามารถออกมาใช้ต่อการปฏิบัติงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
-